เมนู

อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา



ว่าด้วย ผู้ประกอบด้วยศีล 2



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล 2 อย่าง. ในเรื่องนั้น
ชนเหล่าใดมีลัทธิดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายนั่นแหละว่า บุคคล
ผู้มีศีลย่อมให้โลกุตตรมรรคเกิดด้วยโลกียศีลได้ พระบาลีว่า นรชน
ผู้มีศีล ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในศีล
ดังนี้เป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคล
นั้นจึงชื่อว่าผู้ประกอบด้วยศีล 2 อย่าง คือ ด้วยโลกียศีลที่เกิดก่อน และ
โลกุตตรศีลที่ในขณะแห่งมรรค ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้มี
ความพร้อมเพรียงด้วยมรรค
หมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยผัสสะ 2 อย่าง
เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าบุคคลนั้นประกอบด้วยศีล 2 คือ โลกียศีล
และโลกุตตรศีลในขณะเดียวกันได้ไซร้ เขาผู้นั้นก็พึงเป็นผู้ประกอบด้วย
ธรรมอย่างละ 2 มีผัสสะ 2 เป็นต้นได้ ดังนี้ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนัยอันมี
อย่างนั้นเป็นรูป จึงตอบปฏิเสธ. ในปัญหาว่า เป็นผู้ประกอบด้วยศีลทั้งที่
เป็นโลกียะ และโลกุตตระ
ปรวาทีจึงตอบรับรองหมายเอาโลกียศีลที่
สมาทานแล้วในกาลก่อน และโลกุตตรศีลอันมีสัมมาวาจาเป็นต้น ที่เกิด
ขึ้นในขณะแห่งมรรค. คำถามว่า เมื่อศีลอันเป็นโลกิยะดับไปแล้ว เป็น
ของปรวาที คำตอบรับรองของสกวาทีหมายเอาความดับ คือ การดับ
ในขณะ คือภังคขณะ ปรวาทีนั้น เมื่อกำหนดคำว่าศีลดับนั้นคล้ายกับมี
การล่วงศีลอีก จึงถามว่า บุคคลผู้ทุศีล เป็นต้น อนึ่งการตั้งลัทธิของ
ปรวาทีนั้นย่อมแสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้มีศีลไม่ขาดมาก่อนเท่านั้น
ไม่ได้แสดงซึ่งความที่บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยศีล 2 อย่าง เพราะฉะนั้น
ลัทธินั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้แล.
อรรถกถาทวีหิ สีเลหิ สมันนาคโตติกถา จบ

สีลัง อเจตสิกันติกถา



[1407] สกวาที ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นไป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นกายายตนะ
ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะไม่เป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ศีลไม่เป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ
วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ไม่เป็นเจตสิกหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1408] ส. ผัสสะเป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ศีลเป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ ศรัทธา ฯลฯ
วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา เป็นเจตสิก หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.